เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาพาเธ สมุปฺปนฺเน ความว่า เมื่อ
โรคอันเป็นเหตุแห่งความกำเริบของธาตุ อันมีส่วนที่ไม่เสมอกัน อันได้นามว่า
อาพาธ เพราะยังสรีระให้ถูกเบียดเบียนยิ่ง เกิดแล้วแก่เรา.
บทว่า สติ เม อุปปชฺชถ ความว่า อาพาธเกิดแล้วแก่เราแล
ข้อที่อาพาธพึงกำเริบขึ้นนี้ มีทางเป็นไปได้ เอาเถิดเราจะปรารภความเพียร
ตราบเท่าที่อาพาธนี้ยังไม่กำเริบ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ได้ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อการทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ด้วยประการ
ฉะนี้ สติอันเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร จึงเกิดขึ้นแก่เรา ผู้อัน
ทุกขเวทนาเบียดเบียนอยู่ ด้วยสามารถแห่งอาพาธนั้นแหละ ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า อาพาธเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เวลานี้เป็นเวลาที่เราไม่ควร
ประมาท ดังนี้. ก็พระเถระนี้ การทำสติอันบังเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ให้เป็น
ดังขอสับแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอุตติยเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ 3 ในอรรถกถาเถรคาถา
ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ 10 รูป คือ


1. พระนิโครธเถระ 2. พระจิตตกเถระ 3. พระโคสาลเถระ
4. พระสุคันธเถระ 5. พระนันทิยเถระ 6. พระอภัยเถระ 7. พระโลม-
สกังคิยเถระ 8. พระชัมพุคามิกบุตรเถระ 9. พระมหาริตเถระ 10. พระ-
อุตติยเถระ และอรรถกถา.

เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ 4


1. คหวรตีริยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระคหวรตีริยเถระ


[168] ได้ยินว่า พระคหวรตีริยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคล ถูกยุง และเหลือบกัดแล้ว ในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติ อดทนต่อสัมผัสแห่งยุง และเหลือบ
ในป่าใหญ่นั้น เหมือนช้างอดทนต่อการถูกอาวุธใน
สงคราม ฉะนั้น.